3.1 ซีดีรอม (Compact Disc Read-Only Memory : CD-ROM)
สื่อบันทึกข้อมูลที่ปัจจุบันที่ไม่นิยมใช้แล้ว เดิมใช้เป็นสื่อบันทึกข้อมูลเสียงในระบบสเตอริโอ โดยเทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฟิลิปส์และบริษัทโซนี มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บันทึกเพลงโดยการบันทึกด้วยแผ่นเสียง อันเนื่องจากแผ่นเสียงเสียง่ายและมีเสียงรบกวนมาก โดยการปัญหาด้วยการบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอลในแผ่นเสียงดีซีรอม ซึ่งแผ่นเสียงซีดีรอมการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล หัวอ่านเลเซอร์ที่มิได้สัมผัสกับพื้นผิวโดยตรงจึงทำให้แผ่นซีดีรอมสึกหรอยากและไม่เกิดเสียงรบกวน
ข้อมูลในปัจจุบันมักเป็นข้อมูลลักษณะมัลติมีเดีย ขนาดไฟล์ข้อมูลมีความจุมาก ดังนั้น จึงนิยมหันมาใช้แผ่นซีดีรอมแทน ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้ประมาณ 600-700 เมกะไบต์ ข้อมูลในแผ่นซีดีรอมสามารถเรียกใช้งานหรืออ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read Only) ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ แผ่นซีดีรอมที่ใช้บันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ประเภทเดียวกับแผ่นซีดีเพลงทั่ว ๆ ไป แตกต่างกันตรงขั้นตอนการจัดรูปแบบเนื้อที่บนแผ่น เพื่อสามารถจัดเก็บข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
ลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีรอมเป็นวัตถุทรงกลม ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.75 นิ้ว ส่วนด้านบันทึกข้อมูลเป็นแสงเงินแวววาว ความเร็วของเครื่องอ่านซีดีรอม ปัจจุบันมีความเร็วมากกว่า 50X โดยความเร็วที่ 1X (Single Speed) จะมีอัตราความเร็วในการโอน
ถ่ายข้อมูลประมาณ 150 KBps (Kilobyte Per Second) ดังนั้น ถ้าเครื่องอ่านซีดีรอมมีความเร็ว 50X ก็จะมีอัตราความเร็วในการโอนถ่ายขอมูลที่ 7,500 KBps ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมบันทึกภาพยนตร์ เนื่องจากมีความจุสูงมากถึง 7 เท่า เมื่อเทียบกับแผ่น
ซีดีรอม โดยแผ่นดีวีดีรอมสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน แต่ละด้านสามารถจุข้อมูลได้ถึง 4.7 GB (กิกะไบต์) รวมวามจุทั้ง 2 ด้าน สามารถจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์
แผ่นดีวีดีรอมได้ถูกออกแบบมาเพื่อสำหรับจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์ ซึ่งโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ / ชั่วโมง การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมลที่เรียกว่า MPEG-2 สาเหตุที่แผ่นดีวีดีรอม สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมากทั้ง ๆ ที่มีขนาดเท่ากับแผ่นซีดีรอม เนื่องจากช่องว่างระหว่างแทร็กของแผ่นดีวีดีรอมจะมีขนาดเล็กซีดีและร่องเก็บข้อมูลเล็กกว่าทำให้ความหนาแน่นของข้อมูลในแทร็กต่อความยาวหนึ่งหนึ่งนิ้วของแผ่นดีวีดีรอมมีมากกว่าถึง 2 เท่า ส่วนด้านความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงกว่า ทำ ให้การดูภาพยนตร์ที่เคลื่อนไว้ดูเป็นธรรมชาติ ส่วนระบบเสียงที่บันทึกลงในแผ่นดีวีดีมีระบบการบันทึกเสียงที่มี คุณภาพดีดว่าแผ่นซีดีรอม นากจากนี้ก็ยังมีเครื่องบันทึกแผ่นดีวีดี (DVD-Writer) แผ่นดีวีดีอาร์ (DVD-R) ผู้ใช้ บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว และแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ต้องลบทั้งแผ่น ความจุ 4.7 GB (DVD- RW) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแผ่น CD-RW (คำว่า RW ย่อมาจาก ReWritable) หมายถึง เขียนหรือลบข้อมูลได้หลายครั้ง และแผ่น DVD+RW เขียนหรือลบได้หลายครั้ง ได้ต้องเขียนหรือลบทั้งหมด มีความจุ 2.6 GB และ 4.7 GB
ซีดีอาร์ (CD-R) คือ แผ่นบันทึกซีดี ที่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นได้หลายครั้งจนเต็มแผ่นและสมารถอ่านได้หลายครั้ง แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลทับหรือลบข้อมูลเดิมที่บันทึกแล้วได้ การบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งเรียกกันว่า มัลติเซสซัน (Multisession) ซึ่งเป็นการแบ่งการบันทึกข้อมูลที่ละส่วนที่เรียกว่า เซสซัน ต่อละเซสซันประกอบด้วยหลาย ๆ แทร็ก เมื่อเซสซันหนึ่งได้ทำการบันทึกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย โดยพื้นที่บนแผ่นซีดีพอมีพื้นที่เหลือพอในการบันทึกข้อมูลต่อไปอีก การบันทึกข้อมูลในคราวต่อไปก็จะทำได้ด้วยการเปิดเซสซันต่อจาเดิม ซึ่งจะเป็นเซสซันที่ต่อจากแทร็กที่ผ่านการบันทึกมาก่อนหน้านั้น
ซีดีอาร์แตกต่างจากซีดีรอมตรงด้านบันทึกข้อมูลของแผ่นซีดีอาร์นั้นจะมีสีฟ้าอมเขียว ซึ่งเป็นสารพิเศษซึ่งไวต่อความร้อน โดยตัวหัวบันทึกข้อมูลเลเซอร์ในเครื่องบันทึกซีดีนั้นจะทำการเบิร์นพื้นผิวดังกล่าวในการบันทึกข้อมูล
เครื่องอ่านหรือบันทึกแผ่นซีดี กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมี เพราะปัจจุบันเครื่องบันทึกแผ่นซีดีราคาถูก สะดวกในการบันทึกข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย หรือไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดความจุมาก ๆ ซึ่งแผ่นซีดีจะมีความทนทานกว่าแผ่นดิสก์เก็ตและเก็บได้ระยะเวลานานกว่า
รายละเอียดความเร็วที่ระบุตัวเลขไว้บนเครื่อง เช่น 40X, 48X, 50X หมายถึง
- ความเร็วในการอ่านแผ่นซีดีอาร์ (CD-Recordable) 40 เท่า
- ความเร็วในการเขียนแผ่นซีดีอาร์ (CD-ReWritable) 12 เท่า
- ความเร็วในการอ่านแผ่นซีดีทั่วไป 48 เท่า
นอกจากนี้ ยังมีสื่อจัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ เช่น โฟโต้ซีดี (Photo CD) เป็นเทคโนโลยีของบริษัทโกดักที่ใช้จัดเก็บรูปภาพในรูปแบบของโฟโต้ซีดี สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ผสมผสานเทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic) กับเทคโนโลยีแสง (Optical) ไว้ด้วยกันอDisk) หรืออปติคัลดิสก์ (Optical Disk) รวมทั้งสื่อจัดเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash Memory) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ
เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับหน่วยความจำแรม แต่หน่วยความจำแบบแฟลชจะมีความแตกต่างจากหน่วยความจำแรมตรงเป็นหน่วยความจำแบบ Non-Volatile ซึ่งข้อมูลจะคงสภาพอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระไฟฟ้าเลี้ยง และเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จึงมักนำมาใช้จัดเก็บข้อมูลภาพต่าง ๆ เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล
ชนิดของหน่วยความจำแบบแฟลช จะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น หน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในรูปแบบของการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เช่น Memory Stick, Compact Flash, SmartMedia SD Card Multimedia Card (MMC) ส่วนขนาดความจุก็มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน เช่น ความจุขนาด 16, 32, 64, 128 หรือ 256 เมกะไบต์ จนถึงหน่วยกิกะไบต์ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยความจำแบบแฟลชที่มีอินเทอร์เฟสในรูปแบบยูเอสบี (USB) ที่สามารถเสียบเข้าโดยตรงกับพอร์ตยูเอสบีในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บันทึกหรืออ่านข้อมูล ซึ่งก็มีเรียกที่แตกต่างกันตามผู้ผลิต เช่น Thumb Drive, Flash Drive หรือ Handy Drive เป็นต้น
บลูเรย์ดิสก์ คือ รูปแบบของแผ่นออปติคอล สำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ซึ่งของ Blu-ray มาจากช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ดิสก์ 405 nm ของเลเซอร์สีฟ้า ซึ่งทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดีที่มีขนาดแผ่นเท่านี้ โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดง ความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติบลูเรย์ พัฒนาโดยกลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และโซนี เปรียบเทียบกับเอชดี-ดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่เอชดี- ดีวีดีแบบเลเยอร์เดียวมี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสก์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสอง
หน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-ray Disc Rom แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-ray Disc Rom แบบ Double layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิตต่อวินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีนักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็นผู้พัฒนาต่อจากระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
บลูเรย์ดิสก์ในปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ในแผ่นดิสก์ของเครื่องเกม Playstation 3 ซึ่งสามารถรองรับที่สูงของเครื่องเกมได้ดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า Blu-ray Disc นั้นยังมีต้นทุนของหัวอ่านที่สูงและภาพยนตร์ที่มีความละเอียดสูง ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในตลาดมากนัก แต่ในอนาคตเทคโนโลยี Blu-ray เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นผู้พลิกวงการแผ่นดิสก์และวงการภาพยนตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น